วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เรื่องสังคมและวัฒนธรรม 



สังคมมนุษย์
เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า สังคมมนุษย์ปรากฏขึ้นทุกหนทุกแห่ง เพราะมนุษย์เป็น
สัตว์สังคมที่ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า เพราะต่างต้องพึ่งพาอาศัยและร่วมกันสร้าง
วัฒนธรรมทั้งที่เป็นวัตถุ เช่น ที่พักอาศัย เสื้อผ้า โทรทัศน์ อาหาร ฯลฯ และที่เป็นอวัตถุ เช่น
ระบบความเชื่อ คุณค่าและค่านิยม ระบบสัญลักษณ์เป็นอาทิ เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ดังที่เราได้พบเห็นมากมายในยุคปัจจุบัน ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายที่แม้บางชนิด
จะอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคมก็ตาม แต่ก็ไม่ได้สรรค์สร้างสิ่งใดเกินไปกว่าการกระทำ
ตามสัญชาติญาณทางธรรมชาติ จึงทำให้พวกสัตว์ทั้งหลายมีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติที่เป็นแบบ
ฉบับเดียวกันของแต่ละพันธุ์ชั่วนาตาปี
สังคมมนุษย์ได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าเป็นสังคมครอบครัว ชุมชน เมืองใหญ่ ประเทศ
และเป็นสังคมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมมนุษย์อย่างเป็นระบบ เพื่อให้
เข้าใจถึงระบบโครงสร้าง สถาบัน สถานภาพและบทบาทของสมาชิก ระบบคุณค่า บรรทัด
ฐาน และการควบคุมทางสังคม ตลอดจนความเกี่ยวพันระหว่างสังคมทั้งในระดับประเทศ
และระดับนานาชาติ
(๑) ความหมาย การอยู่ร่วมกัน และองค์ประกอบของสังคม
๑.๑ ความหมายของสังคม
สังคม คือ กลุ่มคนอย่างน้อยสองคนขึ้นไป มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณหนึ่ง
คนเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ หรือการวกระทำตอบโต้กันและกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ความสัมพันธ์ทางตรง เช่น การพูดจาทักทาย การทำงานร่วมกัน การซื้อของขายของ และให้
ความเอื้ออาทรต่อกัน เป็นต้น ส่วนความสัมพันธ์ทางอ้อมได้แก่ การเดินผ่านผู้คนที่เราไม่
รู้จักแต่เขาก็เป็นคนจังหวัดเดียวกันหรือชาติเดียวกัน หรือการใช้สิ่งของที่ผลิตโดยคนที่เรา
ไม่เคยพบปะเห็นหน้ากันมาก่อน คนเหล่านี้จะเป็นกลุ่มที่เราสัมพันธ์กับพวกเขาโดยผ่าน
บุคคลอื่น ผ่านเอกสาร หรือหนังสือที่เขาเขียน หรือผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์ที่พวกเขาจัด
และออกรายการ
๑.๒ การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีกได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์
สังคม (social animal) หมายความว่า มนุษย์จะมีชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่ามีความเกี่ยวข้อง
กันและกัน และมีความสัมพันธ์กันในหมู่มวลสมาชิก
สาเหตุที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมเพราะมีความจำเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
(๑) มนุษย์มีระยะเวลาแห่งการเป็นทารกยาวนาน และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ในระยะเริ่มต้นของชีวิต ลักษณะดังนี้แตกต่างไปจากสัตว์อื่น ความจำเป็นที่จะต้องมีการ
เลี้ยงดูทารกเป็นระยะเวลานานนี้เอง ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและสร้างแบบ
แผนความสัมพันธ์กันเป็นครอบครัวเป็นเพื่อนบ้าน และมีความสัมพันธ์กับคนในสังคมอื่นๆ
(๒) มนุษย์มีความสามารถทางสมอง เพราะสามารถคิดค้นวิธีการในการ
ควบคุมธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ในการตอบสนองความต้องการ ให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมี
ความสุข การควบคุมธรรมชาติจำเป็นต้องอาศัยการแบ่งงาน และความร่วมมือจากบุคคลอื่น
เพื่อให้งานบรรลุผล เช่น การเสาะแสวงหาอาหาร การผลิตสิ่งของเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
และการสร้างที่อยู่อาศัย เป็นต้น งานเหล่านี้มนุษย์ไม่สามารถทำคนเดียวได้หมด จึงต้อง
อาศัยคนอื่นร่วมแรงร่วมใจกันจัดทำขึ้น ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกันกับคน
หลายๆ คน
(๓) มนุษย์มีความสามารถในการสร้างวัฒนธรรม และจำเป็นต้องส่งผ่าน
วัฒนธรรมไปสู่คนรุ่นหลังให้ได้รับรู้เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมเหล่านี้มีทั้ง
ปัจจัยสี่ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต และเกี่ยวข้องกับความต้องการอื่นๆ
นอกเหนือไปจากสิ่งที่จำเป็นต่อชีวภาพ เช่น ต้องการความรัก ความอบอุ่น การมีเพื่อนฝูง
การจัดระเบียบทางสังคม ความเชื่อ ศาสนา ศิลปะ และขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมจากรุ่นอายุหนึ่งไปยังอีกรุ่นอายุหนึ่งจึงเป็น
กระบวนการ ที่จะต้องกระทำต่อเนื่องกันไป
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าการมีวัฒนธรรมทำให้มนุษย์มีความแตกต่างจาก
สัตว์ทั้งหลาย ถึงแม้ว่าจะอยู่รวมกลุ่มคล้ายคลึงกับการเป็นสังคมก็ตาม ทั้งนี้เพราะมนุษย์
จำเป็นต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางชีวภาพ และความต้องการทางวัฒนธรรม
มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ และแบบแผนของสังคมขึ้น
อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มนุษย์อุบัติขึ้นบนโลกเป็นครั้งแรกจนกระทั่งปัจจุบันได้สร้าง
ประดิษฐกรรมและวัฒนธรรมมากมายซึ่งทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์แตกต่างไปจาก
สัตว์อื่นๆ อย่างสิ้นเชิง จนมีคำกล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐเลิศล้ำกว่าสัตว์ใดๆ ใน
โลก”
๑.๓ องค์ประกอบของสังคม
สังคมมนุษย์มีองค์ประกอบดังนี้
๑) ประชากร จะต้องมีจำนวนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป สังคมที่มีขนาดเล็กที่สุดก็
คือครอบครัวที่มีพ่อ-แม่ หรือ พ่อ-แม่-ลูก ในขณะที่ชุมชนหรือหมู่บ้านจะมีสมาชิกมากขึ้น
จนเป็นอำเภอ จังหวัด ภาค และประเทศ ตลอดจนสังคมโลกที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกัน
ราว ๖,๐๐๐ ล้านคน
๒) ความสัมพันธ์ ประชากรหรือสมาชิกในสังคมจะต้องมีความสัมพันธ์และ
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
๓) พื้นที่หรืออาณาเขต ในความหมายทั่วไปนั้น คนในสังคมจะอาศัยอยู่ใน
บริเวณแห่งใดแห่งหนึ่ง พื้นที่อาจมีขนาดจำกัด ดังเช่น บริเวณบ้านของครอบครัวหนึ่ง หรือ
บริเวณกว้างขวางเป็นอำเภอหรือจังหวัดในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้
มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ถูกจำกัดพื้นที่ เช่น การสื่อสารกันระหว่างบุคคล
ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ถูกจำกัดโดยพื้นที่ แต่คนสามารถติดต่อสัมพันธ์กันได้
๔) มีการจัดระเบียบทางสังคม การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้น สมาชิกจะต้อง
ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือบรรทัดฐาน (social norms) ทางสังคมที่ควบคุมตามตำแหน่ง
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกแต่ละคน บรรทัดฐานทางสังคมจะมีระบบ เป็นแบบแผน และ
เป็นที่ยอมรับและเข้าใจร่วมกันของคนในสังคม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเป็น
ปกติสุข หากสังคมไม่มีกฎเกณฑ์หรือคนไม่ปฏิบัติตามระเบียบของสังคมที่วางไว้ จะ
ก่อให้เกิดความไม่สงบสุขขึ้น อาจนำไปสู่การขัดแย้งการแย่งชิง และการประหัตประหารกัน
ก่อให้เกิดความระส่ำระสาย และการล่มสลายของสังคมได้
(๒) สถาบันทางสังคม
เมื่อคนมาอาศัยอยู่ร่วมกันและสร้างความสัมพันธ์ขึ้นระหว่างกัน ความสัมพันธ์
เหล่านั้นจะโยงใยกันเป็นตาข่ายทับซ้อนกันไปมากมาย หากจะจัดแบ่งความสัมพันธ์เหล่านี้
ออกเป็นเรื่องๆ เราก็จะเห็นกลุ่มความสัมพันธ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เราเรียกกลุ่ม
ความสัมพันธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ว่า สถาบันทางสังคม (social institution) โดยสถาบันทางสังคม
จะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบัน
ศาสนา สถาบันนันทนาการ สถาบันทางการศึกษา สถาบันทางการเมืองการปกครอง และ
สถาบันทางเศรษฐกิจ
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๔ ได้ให้
ความหมายของสถาบันทางสังคมไว้ว่า สถาบันทางสังคม หมายถึง ยอดรวมของรูปแบบ
ความสัมพันธ์ กระบวนการ และวัสดุอุปกรณ์ ที่สร้างขึ้นเพื่อสนองประโยชน์สำคัญๆ ทาง
สังคมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทุกสถาบันย่อมมีประเพณี จารีต กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติ และ
สิ่งของ อุปกรณ์ เช่น อาคารสถานที่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
สถาบันทางสังคมตามนัยแห่งสังคมวิทยานั้น มิใช่จะปรากฏออกมาในรูปที่เป็น
ทางการดังเช่น การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวในบ้านแห่งหนึ่ง (สถาบันครอบครัว) ธนาคาร
สำนักงาน ตลาดสด (สถาบันทางเศรษฐกิจ) โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย

๒.๑ สถาบันครอบครัวและวงศ์วาน
สถาบันครอบครัว คือ แบบแผนพฤติกรรมของคนที่มาติดต่อเกี่ยวข้องกันใน
เรื่องเกี่ยวกับครอบครัว และเครือญาติ จะต้องปฏิบัติตาม นั่นคือ คนที่เป็นญาติกันโดย
สายเลือด เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เป็นญาติกันทางการแต่งงาน เช่น เป็นสามีภรรยา เป็นเขยสะใภ้
กัน หรือการรับไว้เป็นญาติ เช่น บุตรบุญธรรม เป็นต้น คนเหล่านี้จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์
แบบแผนที่สังคมเป็นผู้กำหนดขึ้นที่เรียกว่า สถาบันครอบครัว ซึ่งครอบคลุมแนวทางในการ
ปฏิบัติในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ คือการเลือกคู่ การหมั้น การแต่งงาน การเลี้ยงดูลูก การอบรมขัด
เกลา การหย่าร้าง และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและเครือญาติทั้งหมด
สถาบันครอบครัวและวงศ์วานเป็นสถาบันพื้นฐานแรกที่สุด และมี
ความสำคัญอย่างยิ่งของสังคมเพราะสถาบันครอบครัว เป็นสถาบันขั้นพื้นฐานที่เป็น
จุดเริ่มต้นของสถาบันอื่นๆ
๒.๒ สถาบันทางเศรษฐกิจ
สถาบันทางเศรษฐกิจ หมายถึง แบบของการคิดการกระทำเกี่ยวกับเรื่องการ
ผลิตสินค้าและบริการต่างๆ รวมทั้งการแจกจ่ายสินค้าและการให้บริการต่างๆ ให้แก่ สมาชิก
ในสังคมสถาบันเศรษฐกิจ เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ลูกจ้าง นายจ้าง เจ้าของโรงงาน ธนาคาร
และผู้ผลิตสินค้าและบริการในเรื่องต่างๆ จะต้องปฏิบัติตาม
สถาบันทางเศรษฐกิจเป็นความสัมพันธ์ในแง่การผลิต การแลกเปลี่ยน และ
การบริโภค จัดอยู่ในกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจ การปฏิสังสรรค์กันทางสังคมในแง่นี้ อาจเป็น
ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว และญาติหรือกับคนอื่นทั้งที่อาศัยอยู่ในสังคม
เดียวกัน หรือต่างสังคมกันได้
เศรษฐกิจเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของสังคมที่ต้องผลิตอาหาร เครื่อง
อุปโภค และเทคโนโลยี คนๆ เดียวไม่สามารถที่จะกระทำ หรือผลิตตอบสนองความต้องการ
ได้ทั้งหมด จึงต้องพึ่งพาคนอื่นให้ช่วยทำเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เป็นอาหารและของใช้ ความร่วมมือนี้เองจึงส่งผลให้คนเราต้องมีความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และภายหลังที่ผลิตขึ้นมาได้
แล้ว จำเป็นต้องนำไปแลกเปลี่ยนกับของชนิดอื่นที่เราไม่ได้ทำขึ้นเอง กระบวนการ
แลกเปลี่ยนจึงเป็นหัวใจของความสัมพันธ์ของคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน
ที่มีการผลิตสินค้าและบริการจำนวนมาก จึงต้องนำออกขาย และใช้เงินเพื่อซื้อสิ่งของที่
ต้องการ
๒.๓ สถาบันทางการเมืองการปกครอง
สถาบันทางการเมืองการปกครอง มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละสังคม
ขึ้นอยู่กับปรัชญาความเชื่อพื้นฐานของคนในสังคมว่า ต้องการจะให้เป็นแบบเสรี
ประชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือแบบคอมมิวนิสต์ เมื่อเลือกรูปแบบการ
ปกครองเป็นแบบใดแล้วก็จัดการบริหารหรือการปกครองให้เป็นไปตามปรัชญาการเมือง
นั้นๆ ตามแนวทางที่เห็นว่าถูกต้องเหมาะสม
สำ หรับสมาชิกของสังคมในระบอบประชาธิปไตยจะเกี่ยวข้องกับ
นักการเมือง นายรัฐมนตรี รัฐมนตรีและผู้พิพากษาในระดับชาติ ส่วนในระดับท้องถิ่นก็จะมี
ความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิกองค์การบริหารตำบล (อบต.) และเทศบาล เป็น
ต้น คนที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเหล่านี้เป็นผู้ที่เราเลือกให้ทำงานแทนเราในสภา โดย
บางส่วนจะทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ ในขณะที่บางส่วนทำหน้าที่
ในการบริหารงานเพื่อให้สังคมดำรงอยู่และพัฒนาต่อไป
๒.๔ สถาบันทางการศึกษา
สถาบันทางการศึกษา หมายถึง แบบแผนในการคิด และการกระทำที่เกี่ยวกับ
เรื่องการอบรมให้การศึกษาแก่สมาชิกใหม่ของสังคม รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคน
รุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งด้วย เป็นสถาบันที่ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องเกี่ยวกับ
หลักสูตร การเข้าสอบ การเรียนการสอน การฝึกอบรมในด้านต่างๆ และการเลื่อนชั้น เป็น
ต้น
การอบรมขัดเกลาสมาชิกในสังคม เป็นหน้าที่ของครอบครัวในเบื้องต้น
ต่อมา การจัดการศึกษาให้กับเยาวชนเป็นหน้าที่ของรัฐ และเอกชนเพื่อให้มีความรู้ คุณธรรม
และวิชาชีพต่างๆ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตในวัยผู้ใหญ่ต่อไป การอบรมสั่งสอนดังกล่าว ส่วนใหญ่จะจัดเป็นโรงเรียน มีครูอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ร่วมมือในการจัดการศึกษา
ให้กับเยาวชน อย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาในระบบที่ไม่เป็นทางการก็มีปรากฎอยู่ทั่วไป
ในสังคมและถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาเช่นกัน เช่น พ่อแม่สอนหนังสือและอบรมสั่งสอน
ลูกที่บ้าน พ่อสอนลูกทำนาทำสวน พระเทศน์ให้พุทธศาสนิกชนฟัง การรับฟังข่าวสารจาก
สื่อมวลชนแขนงต่างๆ เป็นต้นโดยเฉพาะในยุคใหม่ ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดชีวิต
สถาบันการศึกษาจึงเป็นองค์กรทางสังคมที่เกี่ยวพันกับสมาชิก ตั้งแต่เกิดจนตาย
๒.๕ สถาบันศาสนา
สถาบันศาสนา เป็นสถาบันที่เกี่ยวพันระหว่างสมาชิกของสังคม นักบวช คำ
สอน ความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจนอกเหนือธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมอย่าง
แน่นแฟ้น นอกจากนี้สถาบันศาสนายังเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของ
สังคมอีกด้วย ความหมายของศาสนาตามนัยแห่งสังคมวิทยา ได้รวมไปถึงความเชื่อในพลัง
อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราจะเห็นได้จากการทำพิธีทางเจ้าเข้าผี ทำพิธีไสยศาสตร์ เราเรียก
ความเชื่อและพิธีกรรมเหล่านี้ว่า “ศาสนาชาวบ้าน” ซึ่งจะมีการนับถือในชุมชนต่างๆ ทั่วไป
และอาจกระทำควบคู่ไปกับศาสนาหลักหรือศาสนาใหญ่ๆ ของโลก
การนับถือศาสนาจะเกี่ยวพันกับการดำเนินชีวิตของคนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งในพิธีผ่านภาวะ หรือพิธีกรรมในโอกาสสำคัญต่างๆ ของชีวิต หรือในช่วงระยะที่ผ่านพ้น
จากสถานภาพหนึ่งไปสู่อีกสถานภาพหนึ่ง เช่น ตอนเกิด ตอนเข้าสู่วัยรุ่น ตอนแต่งงาน และ
ตอนตาย นอกจากนี้ ศาสนายังเกี่ยวพันกับการควบคุมทางสังคมเพราะมีคำสั่งสอนที่ให้ผู้คน
นับถือ ปฏิบัติตามให้สร้างความดี ละเว้นความชั่ว สถาบันทางศาสนาจึงเป็นหลักในการ
สร้างและรักษาสังคมให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง
๒.๖ สถาบันนันทนาการ
นันทนาการ หมายถึง การพักผ่อนหย่อนใจ ภายหลังจากการทำงานที่เหน็ด
เหนื่อยเพื่อให้การดำรงชีวิตมีความสุขสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น การพักผ่อนจะเชื่อมโยงกับการ
สร้างความบันเทิง ศิลปะ การละเล่น และการกีฬา เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน ผลที่เกิดขึ้นก็
คือทำให้มีละคร ภาพยนตร์ งานบันเทิง มหรสพ ดนตรี ฟ้อนรำ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น